โรคเท้าช้างหรือที่เรียกว่า Lymphatic Filariasis หรือ elephantiasis พบมากในเขตร้อนและชิดเขต ร้อน(subtropic)ได้แก่ อินเดีย พม่า มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย จีนตอนใต้ ญี่ปุ่น เกาหลี อัฟริกาสำหรับ ประเทศไทยพบได้แถบภาคใต้ ชายแดนใกล้พม่า ทั่วโลกมีคนที่ติดเชื้อประมาณ 120 ล้านคน และมีความ พิการประมาณ 40 ล้านคน พบว่า ผู้ป่วยประมาณ1ใน3อยู่ในประเทศอินเดีย อีก1ใน3อยู่ในอัฟริกา ที่เหลืออยู่ ในเอเชีย
โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลมที่พบบ่อยคือเชื้อ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงกัดคนที่เป็นและรับเชื้อไป เมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่นอาการที่สำคัญคือมีอาการบวมของอวัยวะที่พบได้บ่อยคือ ขา แขน อวัยวะเพศ
การตรวจวินิจฉัยพยาธิโรคเท้าช้าง ด้วยวิธี Modified Knott’s Technique
1.เจาะเลือดผู้ป่วย 2 มล.หลังรับประทานยา Diethylcarbamazine 30-45 นาที ใส่ในหลอดเก็บเลือดชนิดที่มีEDTAเป็นสารกันเลือดแข็งตัว
2. เทเลือดใส่ในหลอดขนาด 15 มล. จำนวน 1 มล. จากนั้นใส่ 2% formaline ในน้ำกลั่น จำนวน 9 มล.ตามลงไป เพื่อทำลายเม็ดเลือดแดง ดังรูป
3.นำไปปั่นที่ความเร้วรอบ 1500-2000 RPM 5 นาที
4.เทน้ำเลือดส่วนบนทิ้งไป ซับปากหลอดให้แห้งเหลือแต่ตะกอน
5.หยด 0.1 % methylene blue ลงใป 1 หยด
6.นำตะกอนไปหยด ปิดด้วย Cover glass ส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายต่ำ
ภาพตัวอย่างเชื้อที่พบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น